โมเลกุลที่ไม่เป็นไปตามกฎออกเตต

โมเลกุลที่ไม่เป็นไปตามกฎออกเตต

    กฎออกเตตคือการที่อะตอมส่งอิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกัน แล้วมีผลทำให้อิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดของแต่ละอะตอมครบแปดอิเล็กตรอนเหมือนกับโครงสร้างของก๊าซเฉื่อย   ซึ่งมีความเสถียรมาก  (ยกเว้น H ครบ 2 เหมือนกับ He) เช่น H2แต่สารโคเวเลนต์บางชนิดใช้กับกฎนี้ไม่ได้ จึงมีข้อยกเว้นสำหรับกฎออกเตต ดังนี้
ข้อยกเว้นสำหรับกฎออกเตต
    1.  สารที่ไม่ครบออกเตต ได้แก่สารประกอบของธาตุ Be , B และ Al เช่น BeCl2 , BCl3
    ในโมเลกุลเบริลเลียมคลอไรด์ พบว่าเบริลเลียมมีอิเล็กตรอนล้อมรอบเพียง 4 อิเล็กตรอนเท่านั้น หรือในโมเลกุลของโบรอนไตรคลอไรด์ พบว่าโบรอนมีอิเล็กตรอนเพียง 6 อิเล็กตรอนเท่านั้น
    2. สารที่เกินออกเตต อะตอมของธาตุในโมเลกุลที่มีเวเลนต์อิเล็กตรอนมากกว่า 8 ได้แก่ สารประกอบของธาตุในคาบที่ 3 หมู่ 4 เป็นต้นไป เช่น
    ฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์ (PCl5)  อะตอมฟอสฟอรัสใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนทั้ง 5  อิเล็กตรอนสร้างพันธะกับคลอรีน 5  พันธะ      จึงมีอิเล็กตรอนล้อมรอบ 10 อิเล็กตรอน ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6)  อะตอมกำมะถันใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนทั้ง 6 อิเล็กตรอนสร้างพันธะกับฟลูออรีน 6 พันธะ     จึงมีอิเล็กตรอนล้อมรอบ 12 อิเล็กตรอน เช่นเดียวกับอะตอมของซีนอนในซีนอนเตตระฟลูออไรด์  (XeF4)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น