ความยาวพันธะและพลังงานพันธะ
ความยาวพันธะ
คือ
ระยะห่างที่น้อยที่สุดระหว่างนิวเคลียสของสองอะตอมภายในโมเลกุลในสถานะที่เป็นแก็ส
ให้เป็นอะตอมเดี่ยวในสถานะที่เป็นแก๊ส
ซึ่งความยาวพันธะระหว่างอะตอมคู่เดียวกันในโมเลกุลของสารต่างชนิดกันจะมีค่าต่างกัน
ค่าความยาวพันธะที่นำมาคิดในโจทย์จึงเป็นความยาวพันธะเฉลี่ย
พลังงานพันธะ
หมายถึง
พลังงานที่น้อยที่สุดที่ใช้เพื่อสลายพันธะที่ยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมคู่หนึ่งๆในโมเลกุลในสถานะแก๊ส
ให้กลายเป็นอะตอมเดี่ยวๆในสถานะแก๊ส
พลังงานพันธะสามารถบอกถึงความแข็งแรงของพันธะเคมีได้ โดยพันธะที่แข็งแรงมาก
จะมีพลังงานพันธะมาก และพันธะที่แข็งแรงน้อยจะมีพลังงานพันธะน้อย
มีหน่วยเป็น KJ/mol
การเปรียบเทียบความยาวพันธะ และพลังงานพันธะ
ความยาวพันธะและพลังงานพันธะจะเปรียบเทียบกันได้ก็ต่อเมื่อเป็นพันธะที่เกิดจากอะตอมของธาตุคู่เดียวกัน
ถ้าเป็นอะตอมต่างคู่กันเทียบกันไม่ได้
การคำนวณเกี่ยวกับพลังงานพันธะ
ดูได้จากการเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางเคมี
ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.เมื่อมีการสร้างพันธะจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบคายพลังงาน
2.เมื่อมีการสลายพันธะจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบดูดพลังงาน
***ดูด=สลาย สร้าง=คาย***
กรณีที่ 1 โมเลกุล เป็น อะตอม
เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบดูดพลังงาน
กรณีที่ 2 อะตอม + อะตอม + … เป็น โมเลกุล
เป็นการเปลี่ยนแปลงประเภทคายพลังงาน
กรณีที่ 3 โมเลกุล 1 + โมเลกุล 2 เป็น โมเลกุล 3 + โมเลกุล 4
สมการนี้จะไม่สามรถสรุปได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงานประเภทใด
สรุป
พลังงานที่ดูดเข้าไป > พลังงานที่คายออกมา
=>
ปฏิกิริยาดูดความร้อน
พลังงานที่คายออกมา > พลังงานที่ดูดเข้าไป
=>
ปฏิกิริยาคายความร้อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น