รูปร่างของโมเลกุล

รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์


1.โมเลกุลที่อะตอมกลางไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
                พิจารณาโมเลกุลที่ประกอบด้วยอะตอม 2 ชนิดคือ  A และ B โดยกำหนดให้ A เป็นอะตอมกลาง B เป็นอะตอมที่ล้อมรอบ และโมเลกุลที่สูตรทั่วไปเป็น ABX ซึ่งมีการจัดตัวของอะตอมและมีรูปร่างโมเลกุล ดังนี้




 ในโมเลกุลที่มีทั้งอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว จะมีแรงผลักกันระหว่างอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ซึ่งแสดงแนวโน้มได้เป็นดังนี้


                การพิจาณารูปร่างโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวสามารถใช้แบบจำลอง VSEPR  ได้ เช่นเดียวกัน  ถ้ากำหนดให้โมเลกุลมีสูตรทั่วไปเป็น ABXEY เมื่อ   A แทนอะตอมกลาง B แทนอะตอมที่อยู่รอบๆ และ E แทนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว x แทนจำนวนอะตอม y แทนจำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวที่อยู่รอบอะตอมกลาง โมเลกุลที่มีจำนวนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวแตกต่างกันจะมีรูปร่าง

 AB2E  : ตัวอย่างเช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์    มีอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ  3  คู่ และอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่ การจัดให้อิเล็กตรอนทั้งหมดอยู่ห่างกันมากที่สุดจะมีรูปคล้ายสามเหลี่ยมแบนราบแต่เนื่องจากมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหนึ่งคู่ซึ่งมีแรงผลักมากกว่าแรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะด้วยกัน จึงผลักพันธะ S - O เข้าใกล้กันมุมระหว่างพันธะ O - S - O จึงน้อยกว่า จากการทดลองพบว่ามุม O - S - O  เท่ากับ รูปร่างโมเลกุลแบบนี้เรียกว่า มุมงอ ดังรูป 2.16 (ก)
                AB3E : ตัวอย่างเช่น แอมโมเนีย มีอิเล็กตรอนรอบไนโตรเจน 4 คู่ เป็นอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 3 คู่ และอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่ จากการทดลองพบว่ามุมระหว่างพันธะ H - N - H เท่ากับ ซึ่งน้อยกว่า ที่เป็ฯมุมในรูปทรงสี่หน้า ทั้งนี้เพราะแรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวมีมากกว่าอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะกับคู่ร่วมพันธะด้วยกัน รูปร่างโมเลกุลแบบนี้เรียกว่า พีระมิดฐานสามเหลี่ยม ดังรูป 2.16 (ข)

             AB2E2  : ตัวอย่างเช่น น้ำ    โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 2 คู่ และอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวทั้งสองซึ่งต้องอยู่ห่างกันให้มากที่สุดจึงผลักให้พันธะ O - H ทั้งสองเข้าหากันและน้อยกว่ามุมพันธะในโมเลกุล  ซึ่งมีอิเล็กตรอนรอบอะตอมกลาง 4 คู่เท่ากันมุมระหว่างพันธะ H - O - H จึงมีค่าเท่ากับ รูปร่างโมเลกุลแบบนี้เรียกว่า มุมงอ ดังรูป 2.16 (ค)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น